การวางแผนเพื่อความปลอดภัยเมื่อพัฒนา API เป็นสิ่งสำคัญ เนื่องจาก API มักถูกใช้เพื่อเข้าถึงข้อมูลที่องค์กรมีอยู่ รวมถึงข้อมูลที่มีความละเอียดอ่อน เพื่อส่งข้อมูลไปยังระบบอื่น ๆ ที่ต้องการข้อมูลเหล่านั้นไปใช้งาน ซึ่งหาก API ไม่ได้ถูกวางแผนให้มีความปลอดภัยอย่างเพียงพอ จะส่งผลกระทบอย่างมากต่อองค์กร และลูกค้า โดยเป็นการเพิ่มความเสียงต่อการถูกคุมคามทางไซเบอร์ (Cyber threats) อาทิ ถูกละเมิดข้อมูล ถูกละเมิดข้อมูลส่วนบุคคล ถูกนำข้อมูลไปใช้โดยไม่ได้รับอนุญาต เป็นต้น
ดังนั้นองค์กรที่มีการพัฒนา API ควรวางแผนความปลอดภัยของ API อย่างเหมาะสม ซึ่งจะช่วยในการระบุและลดความเสี่ยงต่าง ๆ ที่อาจจะเกิดขึ้นก่อนถูกผู้ไม่ประสงค์ดีโจมตีได้
การวางแผนรักษาความปลอดภัยของ API ก่อนที่จะพัฒนาจนเสร็จนั้นจะช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายกว่าการแก้ไขปัญหาหลังจากเกิดเหตุการณ์คุมคามทางไซเบอร์ต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นค่าใช้จ่ายทางตรงในการพัฒนาระบบความปลอดภัยเพิ่มเติม และค่าใช้จ่ายทางอ้อมในการออกข่าวสร้างความเชื่อมั่นของลูกค้าให้กลับคืนอีกครั้ง
ขั้นตอนพื้นฐานในการวางแผนความปลอดภัยของ API
การวางแผนความปลอดภัยของ API นั้นขึ้นอยู่กับการวางโครงสร้าง API ของแต่ละองค์กร และจุดเสี่ยงที่อาจจะเกิดขึ้นที่แต่ละองค์กรนั้นมีไม่เหมือนกัน
ขั้นตอนการวางแผนความปลอดภัยของ API ที่สามารถนำเล่าให้จึงเป็นเพียงขั้นตอนพื้นฐานที่แต่ละองค์กรต้องนำไปปรับใช้ให้เหมาะสม ซึ่งมีขั้นตอนพื้นฐานในการวางแผนความปลอดภัยของ API ดังนี้
1. การประเมินความเสี่ยง
ระดมความคิดเพื่อระบุจุดที่มีความเสี่ยง จุดที่อาจจะเป็นช่องโหว่ของ API รวมถึงประเมินความเสี่ยงของแต่ละจุดว่ามีความเสี่ยงมากน้อยเพียงใด และจัดเป็นความสำคัญสำหรับทีมในการพัฒนาป้องกันและแก้ไข
2. การกำหนดข้อกำหนด
การทำเอกสารเพื่อระบุข้อกำหนดต่าง ๆ ทางด้านความปลอดภัยของ API เพื่อให้ทีมพัฒนาสามารถเข้าใจตรงกัน อาทิ ข้อกำหนดเกี่ยวกับการพิสูจน์ตัวตน ข้อกำหนดเกี่ยวกับการอนุญาต ข้อกำหนดเกี่ยวกับการเข้ารหัส และข้อกำหนดเกี่ยวกับการตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูล
3. การออกแบบมาตรการรักษาความปลอดภัย
ทีมต้องมีการประชุมเพื่อเลือกมาตรการรักษาความปลอดภัย และเทคโนโลยีความปลอดภัยที่จะใช้ ซึ่งต้องเหมาะสมกับความต้องการของฝั่งธุรกิจ และวิสัยทัศย์ขององค์กร เช่น การเลือกโปรโตคอลในการเข้ารหัส การเลือกเทคโนโลยีในการตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูล และการเลือกเทคโนโลยีในการทบสอบระบบ API เพื่อปรับปรุงจุดที่ยังมีช่องโหว่
4. การใช้มาตรการรักษาความปลอดภัย
ในส่วนของมาตรการรักษาความปลอดภัยนั้น รวมตั้งแต่การสร้าง ไปจนถึงการทดสอบมาตรการรักษาความปลอดภัยของ API เช่น การตั้งค่าการรับรองความถูกต้อง การกำหนดค่าการเข้ารหัส และการใช้การตรวจสอบข้อมูลขาเข้า (Input)
5. การสร้างแผนการตอบสนองเหตุการณ์ผิดปกติ และการกู้คืนข้อมูล
ปัจจุบันระบบทุกระบบมีความเสี่ยงในการถูกคุมคามทางไซเบอร์ได้ตลอดเวลา การวางแผนความปลอดภัยของ API นั้นจึงควรรวมถึงการเตรียมความพร้อมเพื่อรับมือกับเหตุการณ์ไม่คาดคิด โอกาสในการเกิด ขั้นตอนในการรับมือ และการแก้ไขปัญหารวมถึงข้อมูลที่อาจถูกเข้าถึงจากสถาณการณ์เหล่านั้น
6 การตรวจสอบ รักษา และทดสอบความปลอดภัยอย่างสม่ำเสมอ
เทคโนโลยีที่ประกอบกันเป็น API นั้นมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ทีมพัฒนา API จึงต้องมีการวางแผนการตรวจสอบ อัปเตท การบำรุงรักษา และทดสอบมาตรการรักษาความปลอดภัยอย่างสม่ำเสมอ ไม่ว่าจะเป็น การตรวจสอบการละเมิดความปลอดภัยและช่องโหว่ การอัปเดตมาตรการรักษาความปลอดภัย และการทดสอบจุดเสี่ยงของ API ด้วยเทคโนโลยีใหม่ ๆ เท่าที่ทำได้ เพื่อให้แน่ใจว่า API ที่ใช้งานอยู่นั้นมีความปลอดภัย
โดยวางแผนในการทดสอบเป็นประจำ อาทิ ทุกเดือน หรือทุกไตรมาส เป็นต้น
7. การฝึกอบรมความตระหนักด้านความปลอดภัย
ระบบใหม่หากคนในองค์กรไม่มีความเข้าใจในการใช้งาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งไม่เข้าใจว่าการใช้งานระบบอย่างปลอดภัยเป็นอย่างไร ถือเป็นภัยเงียบที่ทำให้ระบบมีความเสี่ยงมากขึ้นจากภายในองค์กรโดยไม่รู้ตัว
ดังนั้นองค์กรที่มีการพัฒนา API และวางแผนความปลอดภัยของ API จึงความมีการจัดฝึกอบรมพนักงานที่เกี่ยงข้อง อาทิ ทีมพัฒนา ผู้ดูแลระบบ และผู้ใช้งานของแต่ละแผนก ในแง่ของการใช้งาน ความร่วมมือในการรักษาความปลอดภัย ความสำคัญของการรักษาความปลอดภัย และแนะนำแนวทางในการใช้งาน API ให้ปลอดภัย ซึ่งการจัดอบรมนี้ควรจัดให้มีอย่างสม่ำเสมอเพื่ออัปเดทข้อมูลให้ผู้ที่เกี่ยวข้องได้ทราบเพื่อการใช้งานอย่างถูกต้องและปลอดภัย
7 ขั้นตอนด้านบนนั้นเป็นพื้นฐานในการวางแผนความปลอดภัยของ API ซึ่งทั้ง 7 ขั้นตอนเป็นการทำงานอย่างต่อเนื่อง ต้องมีการตรวจสอบ ทดสอบ ทบทวนอย่างสม่ำเสม เพื่อให้แน่ใจว่า API ขององค์กรที่ใช้อยู่นั้นมีการรักษาความปลอดภัยอย่างดี และมีความปลอดภัยมากที่สุด
เคล็ดลับจากผู้เชี่ยวชาญ:
ส่วนของ API ที่มักจะมีความเสี่ยงสูงต่อการถูกโจมตี
- การพิสูจน์ตัวตนและการอนุญาต
เนื่องจากการใช้งาน API นั้น จะต้องมีการพิสูจน์ตัวตนเพื่อให้แน่ใจว่าผู้ใช้งานคนนั้นสามารถเข้าถึงข้อมูลหรือได้รับอนุญาตการเข้าถึงข้อมูลขนาดไหน หรือสามารถใช้งานฟังก์ชันใดได้บ้าง
หาก API ถูกพัฒนา หรือมีการรับรองความถูกต้องมีไม่ปลอดภัยนัก จะเกิดความเสียงในการโจมตีได้ง่ายที่สุุด
- การตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูล
API เป็นระบบที่ทำให้นักพัฒนาสามารถแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างกันได้อย่างรวดเร็ว ซึ่งหาก API ตรวจสอบข้อมูลไม่ถูกต้อง อาจจะเสี่ยงต่อการถูกโจมตีอย่างการเขียนสคริปต์ข้ามเว็บไซต์ได้
- โครงสร้างพื้นฐานที่ไม่ปลอดภัย
โครงสร้างพื้นฐานเป็นสิ่งที่สำคัญในการพัฒนาระบบ การพัฒนา API ก็เช่นกัน หากโครงสร้างพื้นฐานไม่ปลอดภัย ไม่ได้วางแผนความปลอดภัยไว้ หรือแม้กระทั่งการตั้งค่าที่ไม่ถูกต้อง ย่อมมีความเสี่ยงสูงในการถูกโจมตี
- ช่องโหว่ของระบบ API
เวลาพัฒนาระบบบางครั้งจะเหมือนเส้นผมบังภูเขาที่ทีมพัฒนาไม่เห็นช่องดโหว่ของระบบ API ที่พัฒนา หรือใช้งานอยู่ ซึ่งช่องโหว่เหล่านี้อาจจะเกิดจากการใช้เทคโนโลยีที่ล้าสมัย การพัฒนาต่อจากระบบหรือแอปพลิเคชันเดิมที่มีช่องโหว่อยู่ ทำให้ผู้โจมตีใช้สิ่งเหล่านี้ในการโจมตี APi ของเรา
ซึ่งในปัจจุบันนี้มีระบบ 3rd party ที่สามารถนำมาทดสอบระบบ API ทั้งแบบชั่วคราวและแบบใช้งานต่อเนื่อง ซึ่งจะช่วยให้ทีมสามารถเห็นช่องโหว่เหล่านี้ได้ และอุดช่องโหว่เหล่านี้ก่อนที่จะถูกคุมคามทางไซเบอร์ได้
ทั้งนี้ทั้งนั้นโอกาสในการถูกโจมตีมีได้ตลอดเวลา และเปลี่ยนแปลงไปตามเทคโนโลยีใหม่ ๆ รวมถึงการค้นพบช่องโหว่ต่าง ๆ การตรวจสอบ อัปเดตความปลอดภัยของ API อย่างสม่ำเสมอจึงเป็นสิ่งสำคัญและจำเป็น เพื่อให้แน่ใจว่า API นั้นอยู่ในสภาพที่สามารถทำงานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ และมีความปลอดภัยต่อผู้ใช้งาน
บริษัท เอคซเทนด์ ไอที รีซอร์ส จำกัด มีนักพัฒนา API ที่มีความเชี่ยวชาญ มีประสบการณ์ในการ implement ให้กับองค์กรขนาดกลางและขนาดใหญ่จำนวนมากในอุตสาหกรรมธนาคาร (FSI) รีเทล (Retail) และ สุขภาพ (Health) หากองค์กรท่านต้องการรับคำปรึกษาในการวาง implement strategy การวางโครงสร้าง การพัฒนา API รวมถึงการดูแลรักษา API และการวางแผนความปลอดภัยของ API สามารถติดต่อมาได้ที่
☎️: 02-693-1989
✉️: Sales@extend-it-resource.com
Comments