top of page

Cyber security (Cyber se) หรือความปลอดภัยทางไซเบอร์ คืออะไร และสามารถวางระบบป้องกันในส่วนใดได้บ้าง




Cyber security หรือ Cyber se หรือ ความปลอดภัยทางไซเบอร์ คือ


กระบวนการ วิธีปฏิบัติ หรือระบบ ที่ได้รับการพัฒนาหรือออกแบบมาเพื่อปกป้องเครือข่าย โปรแกรม ข้อมูล และอุปกรณ์ที่สามารถเชื่อมต่อทางเน็ตเวิร์ก จากการโจมตีของบุคคลอื่นใดที่ไม่ได้รับอนุญาตเพื่อสร้างความเสียหาย

ในปัจจุบันที่องค์กรถูกผลักดันให้เข้าสู่การทำ Digital Transformation หรือการนำเทคโนโลยีดิจิทัลเข้ามาช่วยวางรากฐานตลอดจนวางกลยุทธ์ในการดำเนินธุรกิจ เพื่อทำให้ข้อมูล และระบบต่าง ๆ ที่มีอยู่เดิม มีการเรียกใช้งาน หรือการเรียกเข้าถึงจากแหล่งภายนอกได้สะดวกและรวดเร็วยิ่งขึ้น ซึ่งนั่นหมายถึงความเสี่ยงขององค์กรที่จะถูกภัยคุกคามทางไซเบอร์ย่อมมีมากยิ่งขึ้นด้วย



Cyber security (Cyber se) คืออะไร


ภัยคุกคามทางไซเบอร์ สามารถแบ่งได้ 3 ประเภททั่วไปได้ดังนี้


1. Malicious Software หรือ Malware มัลแวร์ (Malware) เป็นโปรแกรมที่ถูกสร้างขึ้นเพื่อทำลายระบบคอมพิวเตอร์และโจมตีระบบโดยเฉพาะ ซึ่งภัยคุมคามนี้ ผู้ใช้ หรือเจ้าของคอมพิวเตอร์จะรับโปรแกรมหรือติดเชื้อมัลแวร์มาโดยไม่รู้ตัวผ่านการดาวน์โหลดไฟล์จากเว็บไซต์ที่ผิดกฎหมาย หากมีมัลแวร์แฝงอยู่ก็จะถูกรันในระบบคอมพิวเตอร์ เพื่อเข้าถึงข้อมูลต่างๆ ในคอมพิวเตอร์เครื่องนั้น เพื่อใช้ในการเรียกค่าไถ่ หรือการนำข้อมูลที่ได้ไปใช้โดยที่เจ้าของข้อมูลไม่ได้รับรู้ มัลแวร์ที่คุ้นหูในปัจจุบันได้แก่ Ransomware ซึ่งเป็นหนึ่งในมัลแวร์ที่เน้นการปิดกันหรือการบล็อกการเข้าถึงข้อมูลของคอมพิวเตอร์ หรือระบบนั้นๆ เพื่อเรียกค่าไถ่กับเจ้าของข้อมูลเป็นเงินในการได้เข้าถึงข้อมูลเหล่านั้นอีกรอบหนึ่ง โดยในปีที่ผ่านมาประเทศไทยมีหลายองค์กรที่ถูกเรียกค่าไถ่จาก Ransomware แล้วหลายราย


2. Hacker แฮกเกอร์ (Hacker) ถือเป็นอาชญากรรมทางไซเบอร์ โดยคนที่เป็นแฮกเกอร์นั้นมีความต้องการเข้าระบบหรือเจาะระบบใดระบบหนึ่งอย่างเฉพาะเจาะจง โดยใช้เครื่องมือต่าง ๆ ในการได้มาซึ่งคีย์ที่ใช้เข้ารหัสของระบบ เมื่อเข้าถึงได้แฮกเกอร์อาจจะทำให้ระบบล่ม หรือการดึงข้อมูลไปใช้ในเรื่องต่าง ๆ


3. การหลอกลวง

การหลอกลวงมีทั้งการใช้เทคนิคหลอกลวงแบบ Social engineer หรือ หรือการหลอกลวงที่อาศัยจิตวิทยาต่าง ๆ ให้เหยื่อหลงเชื่อ


Social engineer คำที่คุ้นหูกันหน่อยก็คือการทำฟิชชิง (Phishing) ฟิชชิงคือการปลอมแปลงหน้าตาเว็บไซต์ หน้าตา SMS หน้าตาอีเมล หรือหน้าตาการสื่อสารผ่านช่องทางออนไลน์ใด ๆ ที่ทำให้เหยื่อหลงเชื่อว่ามาจากหน่วยงานนั้น ๆ โดยมีจุดประสงค์ให้กดลิงค์ที่แนบมา และกรอกข้อมูลส่วนตัว เมื่อเหยื่อหลงเชื่อกรอกข้อมูลลงไป คนร้ายจะนำข้อมูลเหล่านั้นเข้าไปใช้ในเข้าถึงข้อมูลอื่นๆ รวมถึงไปใช้ในการทำธุรกรรมต่าง ๆ โดยส่วนมากมักจะนำไปทำธุรกรรมการเงิน

ส่วนการหลอกลวงผ่านสังคมออนไลน์นั้นมีเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ การหลอกลวงนี้แทบจะไม่ต้องใช้เทคนิคหรือความรู้ทางด้าน IT ใด ๆ เนื่องจากเป็นการเล่นกับจิตใจของเหยื่อ ตัวอย่างการหลอกลวงผ่านสังคมออนไลน์ที่พบเห็นได้มาก เป็นการเข้ามาตีสนิทเจ้าของข้อมูลผ่านทางสังคมออนไลน์ หรือที่เรียกกันว่า Scammer โดย scammer จะสร้างประวัติใหม่ให้ตนเองดูดีมีฐานะน่าเชื่อถือและแต่งเรื่องเกิดรักแรกพบ จนเหยื่อหลงเชื่อในคำพูดและสถาณการณ์ที่คนร้ายแต่งขึ้น จนถึงจุดที่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งอยากเจอกัน จากนั้นจะนำไปสู่อาชญากรรมต่าง ๆ

หรืออีกกรณีคือการแต่งเรื่องว่ามีความจำเป็นต้องใช้เงินอย่างเร่งด่วน ให้เหยื่อโอนเงินให้ ซึ่งอาจจะเริ่มจากจำนวนน้อยไปมาก เมื่อคนร้ายได้เงินมากเพียงพอแล้วก็ทำการปิดบัญชีที่ใช้หลอกลวงเหยื่อ และสร้างบัญชีเพื่อหาเหยื่อใหม่ ๆ ต่อไป




Cyber security (Cyber se) คืออะไร

การป้องกันภัยคุกคามทางไซเบอร์


องค์กรสามารถป้องการภัยคุกคามทางไซเบอร์ที่สามารถเกิดขึ้นได้ทุกขณะในระหว่างที่ระบบและข้อมูลที่มีอยู่ในโลกไซเบอร์ โดยสามารถป้องกันได้ในทุกขั้นตอนการสร้างโครงสร้างความปลอดภัยทางไซเบอร์ ได้แก่

1. Infrastructure security การป้องกันระดับโครงสร้างพื้นฐานของการวางระบบ Digital transformation

2. Network security การป้องกันระดับเน็ตเวิร์กหรือระดับเครือข่าย จากการโจมตีภายนอก

3. Application security การป้องกันแอปพลิเคชันต่าง ๆ ที่มีอยู่ ทั้งในส่วนการอัพเดทระบบ การเชื่อมต่อไปยัง แอปพลิเคชันอื่น

4. Data security การป้องกันข้อมูลที่มีทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นข้อมูลขององค์กร หรือข้อมูลลูกค้า

5. Cloud security การป้องกันข้อมูลที่เก็บไว้ใน cloud

6. การอบรมและให้ความรู้พนักงานในองค์กรเรื่องการรักษาความปลอดภัยและการป้องกันภัยคุกคามทางไซเบอร์อย่างสม่ำเสมอ ซึ่งในปัจจุบันก็มีองค์กรต่าง ๆ ให้ความสำคัญกับเรื่องนี้มากมาย และจัดงานสัมมนาให้ความรู้แก่บุคคลทั่วไปอยู่ตลอด


องค์กรที่ถูกคุมคามทางไซเบอร์ได้รับผลกระทบอย่างมาก ทั้งในเชิงธุรกิจและในเชิงภาพลักษณ์องค์กร

ผลกระทบหากถูกคุกคามเชิงธุรกิจ

- มีโอกาสถูกผู้เกี่ยวข้องกับข้อมูลเหล่านั้นฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายได้

- การดำเนินธุรกิจยอมได้รับผลกระทบ โดยไม่รู้ว่าข้อมูลที่มีอยู่สามารถเชื่อถือได้เพียงไร

- ไม่สามารถเข้าถึงข้อมูลมีเพื่อใช้ในการดำเนินธุรกิจได้

ผลกระทบหากถูกคุกคามเชิงภาพลักษณ์องค์กร

- สูญเสียความเชื่อมั่นของลูกค้าที่มาใช้บริการ

- สูญเสียฐานลูกค้าเดิม และโอกาสในการสร้างลูกค้าใหม่

ดังนั้นการสร้างความปลอดภัยให้แก่ข้อมูลต่างๆ ขององค์กรนั้นจึงมีความสำคัญอย่างยิ่ง ป้องกันการเกิดผลกระทบ หรือสร้างความเสียหายที่ไม่อาจคาดเดา การป้องกันความปลอดภัยด้านไซเบอร์ไว้จะทำให้ทั้งเจ้าข้อมูลและองค์กรไม่ต้องเสี่ยงต่อการโจมตี และการใช้งานข้อมูลมีความมั่นคงมากขึ้นได้อีกหลายระดับ






X10 มีผู้เชี่ยวขาญในการวางแผน จัดการ ความปลอดภัยทางไซเบอร์ (Cyber security) อย่างครบวงจร ที่จะช่วยองค์กรของท่านก้าวเข้าสู่การทำ Digital transformation ได้อย่างปลอดภัย ไร้ความกังวล โดยสิ่งที่ผู้เชี่ยวชาญสามารถให้คำปรึกษาได้ ได้แก่

- การวางระบบ Cyber security

- ตรวจสอบ IT Architecture and IT Infrastructure

- แนะนำระบบหรือ โปรแกรมที่เหมาะสมในการรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์ ทั้งในส่วนการเก็บข้อมูล การเชื่อมต่อข้อมูล การส่งผ่านข้อมูล และการสำรองข้อมูล

X10 พร้อมให้บริการและคำปรึกษาเพื่อตอบโจทย์ความต้องการขององค์กรในการวางแผน บริหารจัดการเกี่ยวกับ Cyber security ในทุกระดับ

ติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่



99 views0 comments

Comments


logo extend it resource X10

PRODUCTs

MuleSoft Footer.png
Salesforce authorized cloud reseller footer.png
talend logo
X10-product-axway
elastic search logo

QUICK LINK

snowflake logo
camunda logo
hsg core bank footer.png
i-sprint-logo-min-1.png
Kong logo

We are founded by experienced IT resource management people who have international and local experiences. Working with us makes you rest assured that your Technology project will succeed in the time frame.

Bangkok , Thailand.

E-Mail : sales@extend-it-resource.com

Phone : 02-693-1989

confluent logo

SOCIAL MEDIA

  • Facebook
  • LinkedIn
bottom of page