top of page

[Gartner] Top 10 Strategic Technology Trends ในปี 2025

[Gartner] Top 10 Strategic Technology Trends ในปี 2025

ท่ามกลางความท้าทายในการรับมือกับความผันผวนทางสังคมและเศรษฐกิจในปัจจุบัน การจะประสบความสำเร็จในอนาคตนั้น ผู้บริหารด้านไอทีและ CIO ต้องมองการณ์ไกล แนวโน้มเทคโนโลยีเชิงกลยุทธ์ประจำปี 2025 จาก Gartner เปรียบเหมือน Guid Book ที่จะช่วยแนะนำเทคโนโลยีที่กำลังมาแรง ซึ่งในบทความนี้เรารวบรวม เทรนด์เทคโนโลยีที่ Gartner คาดว่าจะมาแรงในปี 2025 เพื่อองค์กรของคุณจะสามารถวางแผนเชิงกลยุทธ์ และก้าวเข้าสู่อนาคตอย่างมั่นใจ


ในการคัดเลือก 10 แนวโน้มเทคโนโลยีเชิงกลยุทธ์ของปีนี้ นักวิเคราะห์ Gartner ได้จัดกลุ่มออกเป็น 3 ประเด็น ได้แก่


Top 10 Strategic Technology Trends
อ้างอิง : Gartner

ประเด็นที่ 1: องค์กรต้องป้องกันตัวเองจากความจำเป็นและความเสี่ยงด้าน AI


เทคโนโลยี AI เข้ามามีบทบาทในทุกอุตสาหกรรม ตั้งแต่การวิเคราะห์ข้อมูล การคาดการณ์ ไปจนถึงการตัดสินใจทางธุรกิจ แต่การใช้ AI ต้องดำเนินไปอย่างรอบคอบและมีความรับผิดชอบ ซึ่ง Gartner ระบุว่าองค์กรต่างๆ ควรจับตามอง 3 เทรนด์ที่เกี่ยวข้องกับ AI ดังนี้


Trend 1: Agentic AI 

คือ AI ที่สามารถวางแผนและดำเนินการเพื่อบรรลุเป้าหมายที่ผู้ใช้กำหนด เหมือนเป็นตัวแทนคอยช่วยเหลือ แบ่งเบาภาระ และเพิ่มขีดความสามารถของคนในองค์กรหรือแอปพลิเคชัน แต่ต้องมีการควบคุมที่รัดกุมเพื่อให้สอดคล้องกับเจตนารมณ์ของผู้ให้บริการและผู้ใช้งาน


Trend 2: AI governance Platforms

เทคโนโลยีที่ช่วยให้องค์กรจัดการด้านกฎหมาย จริยธรรม และประสิทธิภาพการทำงานของ AI สามารถบังคับใช้นโยบายที่ทำให้มั่นใจได้ว่าจะมีการใช้ AI อย่างมีความรับผิดชอบ ซึ่งความท้าทายที่ต้องเจอคือ แนวทางปฏิบัติด้าน AI แตกต่างกันไปในแต่ละภูมิภาคและอุตสาหกรรม


Trend 3:  Disinformation Security 

คือเทคโนโลยีใหม่ที่เข้ามาช่วยลดการฉ้อโกงด้วยการในการตรวจสอบตัวตน (Verify) การป้องกันไม่ให้บัญชีผู้ใช้ถูกยึดครองหรือถูกขโมยไป หรือการรับรู้บริบทได้เท่าทันว่ากำลังเจอกับข้อมูลลวงอยู่หรือไม่ ซึ่งต้องอาศัยการอัพเดตอย่างต่อเนื่อง มีหลายชั้น การเรียนรู้แบบปรับตัว และการทำงานเป็นทีม


ประเด็นที่ 2: องค์กรต้องทบทวนวิธี การประมวลผลในรูปแบบใหม่ เพราะรูปแบบการประมวลผลอาจจะกำลังเปลี่ยนไปในโลกดิจิทัล


เทคโนโลยีการประมวลผล (Computing) กำลังก้าวข้ามขีดจำกัดเดิมๆ ไปสู่รูปแบบใหม่ ซึ่งจะทำให้องค์กรสามารถทำงานได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น Gartner ระบุ 4 เทรนด์สำคัญที่เป็นอนาคตของการประมวลผล ดังนี้


Trend 4:  Post-quantum Cryptography (PQC)

ปกป้องข้อมูลจากความเสี่ยงด้านความปลอดภัยที่จะมาพร้อมกับการคำนวณแบบควอนตัม (Quantum Computing)โดยอาจสามารถถอดรหัส (Decryption) ข้อมูลที่มีการเข้ารหัสด้วยเทคโนโลยีปัจจุบันได้เร็วยิ่งขึ้น ซึ่งแอปพลิเคชันในปัจจุบันจะต้องมีการปรับเปลี่ยนอัลกอริทึมการเข้ารหัสใหม่ ซึ่งจะส่งผลต่อประสิทธิภาพการทำงาน จึงอาจต้องปรับเปลี่ยนการเขียนโปรแกรมเพิ่มเติมและจำเป็นต้องทดสอบในอีกระยะหนึ่ง


Trend 5: Ambient invisible Intelligence 

เทคโนโลยีที่ผสานเข้ากับสิ่งแวดล้อมอย่างแนบเนียน ช่วยในการติดตามและตรวจจับสิ่งของแบบเรียลไทม์ด้วยต้นทุนที่ต่ำ เพิ่มการมองเห็นและประสิทธิภาพ และรายงานตัวตน (Identity) ส่งข้อมูลประวัติและคุณสมบัติต่าง ๆ ได้ดียิ่งขึ้น ซึ่งผู้ให้บริการต้องจัดการกับความกังวลด้านความเป็นส่วนตัวและขอความยินยอมสำหรับการใช้ข้อมูลบางประเภทกับผู้ใช้งาน


Trend 6: Energy-efficient Computing 

แนวทางที่จะช่วยสนับสนุนเรื่องความยั่งยืน (Sustainability) ผ่านArchitecture, Code และ Algorithm ที่มีประสิทธิภาพ ร่วมกับอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์และการใช้พลังงานหมุนเวียนในการรันระบบต่าง ๆ เพื่อให้สามารถช่วยลดการปล่อย Carbon Footprint ได้ ซึ่งจะต้องมีการลงทุนซื้อฮาร์ดแวร์ใหม่ หรือต้องใช้บริการ Cloud ที่มีความยั่งยืน รวมทั้งจะต้องมีการเสริมทักษะ เครื่องมือ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการประมวลผลได้ดีขึ้นแบบองค์รวม


Trend 7: Hybrid Computing 

การประมวลผลแบบ Hybrid ที่จะต้องผสมผสานทั้งหน่วยประมวลผล พื้นที่จัดเก็บ และ Networks ที่ต้องมีประสิทธิภาพสูงในการแก้ไขปัญหาเชิงคำนวณต่าง ๆ เพื่อให้มีทรัพยากรที่พร้อมสามารถสร้างสรรค์นวัตกรรมได้ดียิ่งขึ้น เช่น AI ที่ทำงานได้เหนือกว่าข้อจำกัดของเทคโนโลยีปัจจุบัน การทำ Automation ที่เหนือไปอีกขั้น หากแต่เทคโนโลยีขั้นสูงและซับซ้อนก็จะต้องมาพร้อมกับทักษะในการสร้างที่เฉพาะเจาะจง รวมทั้งต้องพิจารณาความเสี่ยงเรื่องความปลอดภัย และราคาต้นทุนที่สูงขึ้นด้วย


ประเด็นที่ 3: การผสานพลังระหว่างมนุษย์และเครื่องจักรเชื่อมโยงโลกกายภาพและดิจิทัลเข้าด้วยกัน

ในอนาคต องค์กรจะต้องหาวิธีการที่มนุษย์และเครื่องจักรสามารถทำงานร่วมกันได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการทำงานและตอบสนองต่อความต้องการของตลาดได้ดียิ่งขึ้น โดยเทรนด์ที่น่าสนใจในประเด็นที่ 3 มีดังนี้


Trend 8: Spatial Computing

สนับสนุนโลกความเป็นจริงผ่านเทคโนโลยีดิจิทัล เช่น การทำ Augmented Reality (AR) หรือ Virtual Reality (VR) เพื่อมอบประสบการณ์แบบเชิงลึกและการมีปฏิสัมพันธ์ในเกม การศึกษา หรือ e-Commerce แต่ก็ยังมีข้อที่ต้อง Concern คือความเป็นส่วนตัวและความปลอดภัยของข้อมูล


Trend 9: Polyfunctional Robots 

หุ่นยนต์ที่สามารถทำงานได้หลากหลายตามความต้องการ ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพ คืนทุนเร็วขึ้น ไม่จำเป็นต้องเปลี่ยนแปลงโครงสร้างหรือติดตั้งโครงสร้างพื้นฐานแบบถาวร ทำให้ติดตั้งได้เร็ว เสี่ยงต่ำ และขยายขนาดได้ สามารถทำงานแทนหรือทำงานร่วมกับมนุษย์ได้


Trend 10:  Neurological Enhancement

เป็นการพัฒนาความสามารถทางการรู้คิด ด้วยเทคโนโลยีที่อ่านและถอดรหัสของสมอง ช่วยยกระดับทักษะมนุษย์ จนสามารถทำให้ผู้สูงอายุทำงานได้นานขึ้น แต่สิ่งที่หลายองค์กรต้องคิดทบทวนก่อนเริ่มต้นใช้สิ่งนี้ คือ ราคาที่แพง มีการรุกล้ำและมีการใช้ UBMI และ BBMI เพื่อเชื่อมต่อกับสมองมนุษย์โดยตรง ซึ่งสิ่งนี้คือข้อกังวลด้านจริยธรรม และความปลอดภัยเป็นอย่างมาก


CIO และผู้นำด้านไอทีจะใช้ประโยชน์จากแนวโน้มเทคโนโลยีปี 2025 ได้อย่างไร?

CIO และผู้นำด้านไอทีจะใช้ประโยชน์จากแนวโน้มเทคโนโลยีปี 2025 ได้อย่างไร?

  • วิเคราะห์เชิงลึกในแนวโน้มที่ Gartner คาดการณ์ว่าจะเปลี่ยนแปลงรูปแบบธุรกิจ

  • ศึกษากรณีตัวอย่าง (Case Study) จากผู้บุกเบิกที่นำไปใช้ในระยะแรก

  • พิจารณาว่านวัตกรรมเหล่านี้สอดคล้องกับความมุ่งมั่นด้านดิจิทัลขององค์กรอย่างไร

  • วางแผนโมเดลธุรกิจและโมเดลการดำเนินงานอาจต้องเปลี่ยนแปลงอย่างไร

  • ใช้เป็นข้อมูลในการปรับเปลี่ยนกลยุทธ์ระยะกลางและระยะยาว รวมถึงแผนงานด้านเทคโนโลยี


บริษัท เอคซเทนด์ ไอที รีซอร์ส จำกัด มีประสบการณ์กว่า 15 ปีในการให้บริการ IT Solutions เรามุ่งเน้นศึกษาเทรนด์เทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจอย่างต่อเนื่อง และเชื่อมั่นว่าข้อมูลเชิงลึกจาก Gartner จะช่วยสนับสนุนผู้บริหารในการนำพาธุรกิจไปสู่ความสำเร็จ


สนใจเข้าร่วมงานสัมมนาเพื่ออัปเดตเทรนด์เทคโนโลยีใหม่ๆ ให้องค์กรของคุณ

กรอกฟอร์มลงทะเบียนที่นี่ https://forms.gle/KXPrEofkjt884V9K9


ติดต่อ X10 ได้ที่ 

: 02-693-1989


545 views0 comments

Comments


bottom of page