top of page

ความสำเร็จของการใช้ Integration Strategy ที่ MuleSoft ใช้กับ Global Bank และ Retailer ระดับโลก

Updated: Feb 19


ความสำเร็จของการใช้ Integration Strategy ที่ MuleSoft ใช้กับ Global Bank และ Retailer ระดับโลก

กลยุทธ์บูรณาการ หรือ Integration Strategy ในองค์กรระดับโลกที่มีสาขาย่อยในแต่ละประเทศมีความต้องการใช้เทคโนโลยีที่ต่างกัน เป็นสิ่งที่ท้าทายการทำงานของสำนักงานใหญ่ส่วนกลาง หรือ Head Quater เป็นอย่างมาก เพราะองค์กรใหญ่เหล่านั้นต้องแน่ใจว่าจะสามารถใช้ประโยชน์จากวิธีการทำงานของแต่ละประเทศ ใช้นโยบายต่าง ๆ และนำเสนอบริการที่เป็นมาตรฐานเดียวกันให้แก่ลูกค้าได้ แต่ในขณะเดียวกันก็ต้องให้บริษัทลูกมีอิสระในการตัดสินใจในการทำงานของตนเอง และปรับให้เข้ากับกฏหมายในแต่ละประเทศเช่นกัน


ส่วนสำคัญของการทำ Integration Strategy ระดับโลก

วัตถุประสงค์ของการทำ Integration Strategy คือการปรับปรุงการตอบสนองของธุรกิจและจัดหาเครื่องมือเพื่อสร้างประสบการณ์และปรับปรุงการบริการให้กับลูกค้า ซึ่งโดยปกติแล้วหน่วยงานด้านการเงินระดับโลกหรือผู้ค้าปลีกรายใหญ่อาจจะเป็นบริษัทท้องถิ่นที่ให้บริการแก่ลูกค้าเมือนกัน แต่มีการใช้กลยุทธ์การบูรณาการที่แตกต่างกันในแง่ของการดำเนินการและการจัดการ


เช่น สมมติว่าเราเป็นสถาบันการเงินในท้องถิ่น เราสามารถนำโซลูชันการจัดการที่แตกต่างจากคู่แข่งของเราในประเทศอื่นมาใช้ หรือแม้แต่พัฒนาด้วยกรอบการทำงานอื่นๆได้ แต่ในทางกลับกันทั้งบริษัทลูกและส่วนกลางหรือ  Head Quater  ก็จำเป็นต้องมีข้อกำหนดร่วมกัน เพื่อให้ธุรกิจประสบความสำเร็จ ซึ่งสิ่งสะท้อนให้เห็นในความจำเป็นในการนำกลยุทธ์บูรณาการ (Integration Strategy) มาใช้



5 อย่างที่องค์กรระดับโลกต้องมีเพื่อวางแผน Integration Strategy ให้สำเร็จ 


5 อย่างที่องค์กรระดับโลกต้องมีเพื่อวางแผน Integration Strategy ให้สำเร็จ 


แพลตฟอร์มบูรณาการใดๆก็ตามที่เราใช้งานในระดับองค์กร มักต้องทำงานร่วมกับโซลูชันการจัดการหรือกรอบการดำเนินการที่มีอยู่เดิม เพื่อที่แพลตฟอร์มจะสามารถขยายขีดความสามารถของโซลูชันที่มีอยู่ เรามาดู 5 องค์ประกอบที่ควรตระหนักและเริ่มลงมือทำเพื่อความสำเร็จในการใช้กลยุทธ์นี้


1. ความปลอดภัย (Security)

องค์กรจะต้องมีระบบที่ใช้การรักษาความปลอดภัยในระดับแพลตฟอร์มทั่วโลก ไม่ว่าการบูรณาการจะถูกสร้างขึ้นที่ไหนหรือด้วยโซลูชันใดก็ตาม


2. การติดตามผล (Monitoring)

โซลูชันจากองค์กรส่วนกลางต้องสามารถติดตามผลและตรวจสอบการทำงานในระดับท้องถิ่น และระดับส่วนกลาง ได้ เพื่อช่วยให้องค์กรสามารถตัดสินใจได้ตลอดเวลา การติดตามผลนี้จะให้จะช่วยให้เราเข้าใจเกี่ยวกับประสิทธิภาพการทำงานที่ไม่ได้จำกัดเฉพาะพื้นที่ได้


3. ระบบอัตโนมัติ (Automation)

การใช้ระบบอัตโนมัติจะนำไปสู่การประหยัดต้นทุนในการบูรณาการทั่วโลก และช่วยรับประกันความสมดุลระหว่างการลงทุนในการบูรณาการและนวัตกรรม ช่วยให้เราสามารถปรับปรุงการพัฒนาที่สมบูรณ์และย่นระยะเวลาในการทำการตลาดให้กับธุรกิจได้


4. การลงทุนที่มีอยู่เดิม (Existing Investments)

แพลตฟอร์มขององค์กรจะต้องมีความสามารถในการจัดการโซลูชันภายในที่แตกต่างกันได้ เช่น API Gateway, Proxy, การจัดการ และการดำเนินการกับ development frameworks  แต่อย่างไรก็ตามควรขยายขีดความสามารถของเครื่องมือเหล่านี้ด้วยความสามารถในการมองเห็นและการจัดประสานที่เป็นหนึ่งเดียวเช่นกัน นี่เป็นวิธีที่จะทำให้องค์กรมีระบบในระดับส่วนกลาง และมาพร้อมความสามารถในการตัดสินใจในท้องถิ่นl ตามเงื่อนไขที่ Global Company ส่วนใหญ่ต้องการ


5. การจัดการระดับโลก (Global Management)

การจัดการระดับโลกคือการรวมกันของ 2 องค์ประกอบหลัก ดังนี้


  • ประการที่ 1 ความสามารถในการจัดการ assets ของบุคคลที่สาม (Third Party) 

ไม่ว่าบริษัทจะมีการพัฒนาโซลูชันเหล่านั้นขึ้นมาเอง หรือใช้โซลูชันแพลตฟอร์มบูรณาการหรือซอฟต์แวร์ของบุคคลที่สาม โซลูชันที่ใช้จะต้องมีวิธีการเปิดเผยและแบ่งปันข้อมูลการ Integration ของบริษัทส่วนกลางและบริษัทท้องถิ่นได้


  • ประการที่ 2 ความสามารถในการทำงานร่วมกันโดยการเปิดเผย assets

ความสามารถในการกำหนดขั้นตอนการอนุมัติที่อำนวยความสะดวกในการเปิดเผย assets ที่ดีที่สุด ไม่ว่าจะมาจากส่วนท้องถิ่นหรือจากส่วนกลางก็ตาม


แล้วการใช้ API management สำคัญกับองค์กรอย่างไร?

แล้วการใช้ API management สำคัญกับองค์กรอย่างไร?


Concept ของการใช้ API (Application Programming Interface) คือเป็นส่วนสำคัญในโลกของเทคโนโลยีและซอฟต์แวร์ที่จะช่วยให้แอปพลิเคชันและระบบต่าง ๆ สื่อสารกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ อธิบายให้เห็นภาพแบบง่ายๆ สำหรับคนที่ไม่ใช่สายไอที API เหมือนประตูที่เปิดไว้ โดยสามารถให้บริการหรือระบบอื่นๆ เข้าถึงและจัดการข้อมูลหรือรับส่งคำสั่งระหว่างกันได้ ทำให้บริการและ Application สามารถทำงานร่วมกันได้ผ่าน API นั่นเอง 


สำหรับหลายๆธุรกิจ การใช้ API ในการดำเนินงานในแต่ละวันไม่ใช่เรื่องที่แปลกใหม่ แต่อย่างไรก็ตาม สำหรับองค์กรที่ต้องการจัดการบูรณาการ API (API integrations) ในระบบและแอปพลิเคชันที่มีจำนวนเพิ่มมากขึ้น เวลาที่ใช้ในการสร้างการผสานรวมเหล่านี้ใหม่ตั้งแต่ต้นอาจเป็นเรื่องยุ่งยากและทำให้เปลืองทรัพยากรภายใน การทำ API Management จึงช่วยให้องค์กรมีความยืดหยุ่นมากขึ้น


ถ้าคุณอยากรู้จัก API Management มากขึ้นกว่านี้ คุณสามารถอ่านบทความ ทำความรู้จัก API Management วิธีการเริ่มต้นใช้งานและทำไมธุรกิจถึงต้องมีสิ่งนี้ หรือติดต่อเราเพื่อรับคำปรึกษาฟรี !


Mulesoft APIs management 

MuleSoft เป็น APIs management ที่ได้รับความยอมรับจากบริษัทชั้นนำทั่วโลก สนใจ Mulesoft และต้องการทราบข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับแพลตฟอร์มที่สามารถช่วยให้คุณประสบความสำเร็จในธุรกิจของคุณ และพร้อมเรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับการนำพลังของการบูรณาการ ติดต่อมาหาเราที่ 

: 02-693-1989


34 views0 comments

Comments


bottom of page